สารนิเทศสิ่งพิมพ์ (Printed Materials)
สื่อสารนิเทศสิ่งพิมพ์ ได้แก่ สารนิเทศที่ผลิตขึ้นและรวบรวม เป็นเล่มจากการตีพิมพ์จากเครื่องพิมพ์ เป็นสารนิเทศที่เริ่มมีบทบาทขึ้นเมื่องอุตสาหกรรม การพิมพ์ สิ่งพิมพ์เริ่มเกิดขึ้น มีรูปลักษณะต่าง ๆ กัน ตั้งแต่เป็นแผ่น ๆ ไปจนถึงเย็บเป็น เล่มแบบต่าง ๆ สื่อสิ่งพิมพ์แบ่งได้เป็น 5 ประเภทคือ
1. หนังสือ (Books) เป็นสื่อที่เกิดจากการพิมพ์เรื่องบันทึก ความรู้ ความคิด ความเชื่อถือ ประสบการณ์ และการกระทำของมนุษย์ในรูปเล่มที่ถาวร และมี ส่วนประกอบของรูปเล่มที่สมบูรณ์ คือ ใบหุ้มปก ปกหนังสือ ใบรองปก หน้าชื่อเรื่อง หน้าปก ใน คำนำ สารบาญ เนื้อเรื่อง บรรณานุกรม ภาคผนวก อภิธานศัพท์ และดรรชนี หนังสืออาจแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้หลายวิธี สุดแท้แต่ว่าจะยึดหลัก เกณฑ์ใด แต่ที่นิยมใช้กันแพร่หลาย คือ แบ่งตามเนื้อหาและแบ่งตามลักษณะการแต่ง (ชุติมา สัจจานันท์, 2523, หน้า 2) โดยถ้าแบ่งตามเนื้อหา แบ่งขอบเขตของหนังสือเป็น 2 ประเภท คือ หนังสือตำราและสารคดี และหนังสือบันเทิงคดี ถ้าแบ่งตามลักษณะการแต่งจะแบ่งได้เป็น การแต่งแบบร้อยแก้วและการแต่งแบบร้อยกรอง หนังสือตำราและสารคดี (Non-fiction Books) มุ่งให้สาระความรู้ใน สาขาวิชาต่าง ๆ เป็นหลัก (อัญญาณี คล้ายสุบรรณ์, 2531, หน้า 2) เป็นหนังสือที่มีจำนวน มากเมื่อเปรียบเทียบกับหนังสืออื่น ๆ ที่ให้บริการอยู่ในห้องสมุดประเภทต่าง ๆ และศูนย์ สารนิเทศหนังสือตำราและสารคดีที่ควรรู้จัก มีดังนี้
1. 1. ตำรา (Textbooks) เป็นหนังสือที่ใช้ในการศึกษาวิชาใดวิชาหนึ่ง ถ้า เป็นตำราในระดับต่ำกว่าขั้นอุดมศึกษา นิยมเรียกว่า หนังสือเรียน แบบเรียน หรือหนังสือ ประกอบการเรียน ได้แก่ หนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ใช้สำหรับการเรียน มี สาระตรงตามที่ระบุไว้ในหลักสูตรอย่างถูกต้อง อาจมีลักษณะเป็นเล่ม เป็นแผ่น หรือเป็น ชุดก็ได้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2526, หน้า 1) หนังสือประกอบการเรียน หรือหนังสือเรียน เป็นหนังสือบังคับใช้ที่โรงเรียนอาจกำหนดให้นักเรียนทุกคนจัดหามาไว้ใช้ประจำตัวได้ หนังสือประเภทตำรา ยังมีอีกหลายประเภทที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ค้นคว้า ได้แก่ คู่มือครู หรือคู่มือการสอน ซึ่งครูอาจารย์เป็นผู้ใช้ หนังสือคู่มือการเรียน การสอนใช้ได้ทั้งครูและนักเรียน หนังสือเสริมประสบการณ์ หนังสืออ่านนอกเวลา และหนังสืออ่าน เพิ่มเติม เป็นต้น
1.2. ตำราชั้นสูง (Treatise) คือ ตำราหรือข้อเขียนในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง ซึ่งจะมีลักษณะที่เป็นทางการและเป็นระบบมากกว่าหนังสือ หรือข้อเขียนโดยทั่วไป
1.3. ตำราชั้นสูงในวิชาใดวิชาหนึ่ง (Monograph) คือ ตำราหรือ บทความทางวิชาการในห้วข้อวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือเป็นเรื่องราวของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง มัก จะพิพม์ออกมาเป็นชุด หนังสือตำราในลักษณะเนื้อหาอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการได้สารนิเทศ ที่จัดเก็บและให้บริการในห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศอื่น ๆ ได้แก่ รายงานประจำปี (Annual Report) รายงานการวิจัย (Research Report) เอกสารการประชุม (Transaction) รายงานการประชุม (Proceeding) จดหมายข่าว (Newsletter) วิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก (Thesis and Dissertation) และสิ่งพิมพ์รัฐบาล (Government Publication) เป็นต้น
1.4. หนังสือสารคดีทั่วไป เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ในสาระของ สารนิเทศในขอบเขตวิชาต่าง ๆ ด้วยวิธีการเขียนง่าย ๆ ให้ผู้อ่านได้เกิดความเพลิดเพลินจากสำนวนภาษา ลีลาการเขียน ตลอดจนความบันเทิงประทับใจที่ได้จากการอ่าน หนังสือบันเทิงคดี (Fiction Books) เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นจากจินตนาการ ความนึกคิดของผู้เขียน โดยอาศัยประสบการณ์จำลอง ของชีวิตภายในสังคม ผู้ เขียนมุ่งเขียนขึ้นเพื่อความเพลิดเพลินเป็นหลัก แต่ผู้เขียนที่เน้นในการถ่ายทอดความนึกคิดจะ พยายามแทรกเนื้อหาและสาระ ตลอดจนคติชีวิตต่าง ๆ หนังสือประเภทนี้ ได้แก่ หนังสือ การ์ตูน นวนิยาย เรื่องสั้น เป็นต้น
2.วารสาร (Periodicals) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดระยะเวลาออกไว้ แน่นอน เช่น รายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน ราย 2 เดือน เป็นต้น ออกโดยสม่ำเสมอ และมีชื่อเรียกแน่นอน โดยจะพิมพ์บทความและเรื่องราวต่าง ๆ ที่ทันสมัยไว้ในเล่มเดียวกัน เขียนโดยผู้เขียนหลายคน เนื้อหาสาระภายในมักเป็นเรื่องหลายเรื่องหลายแบบรวม ๆ กัน จัดเป็นคอลัมน์หรือส่วนเฉพาะ แบ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข่าวประเภทสรุป หรือวิเคราะห์วิจารณ์ในรอบเวลาหนึ่งเป็นบทความที่ให้ความรู้ หรือแสดงความคิดเห็น เขียนเป็นเรื่องสั้น หรือนวนิยายเป็นตอน ๆ เขียนเป็นสารคดีทั่วไป แฟชั่นต่าง ๆ ประกาศโฆษณา เป็นต้น การจัดทำวารสารหรือนิตยสารจะมีคณะผู้จัดทำหลายคนร่วมกันทำ โดยแต่ละคนรับผิดชอบหน้า ที่กันไปคนละอย่างมีตั้งแต่ เจ้าของ ผู้อำนวยการ บรรณาธิการ ฝ่ายศิลป เป็นต้น วารสารมีการแบ่งเป็น 2 ประเภทตามลักษณะของเนื้อหาวิชา คือ
2.1 วารสารวิชาการ (Journal) เป็นวารสารที่จัดทำโดยสถาบัน บริษัท หรือสมาคมทางวิชาการ เนื้อหาบทความที่ตีพิมพ์ส่วนใหญ่เป็นบทความทางวิชาการ
2.2 นิตยสาร (Magazine) เป็นวารสารสำหรับผู้อ่านทั่วไป ตีพิมพ์ บทความหลายชนิดในหลายสาขาวิชาการ แต่ละบทความเขียนโดยผู้เขียนหลายคน คำเรียกชื่อวารสารในภาษาไทยมีใช้กันหลายคำ ความหมายของคำว่า วารสารเป็นเรื่องของภาษา มีการเปลี่ยนแปลง จึงควรพิจารณาลักษณะของบทความที่ตีพิมพ์ หรือความมุ่งหมายของการจัดทำ ประกอบด้วย (วิสิทธิ์ จินตวงศ์, 2520, หน้า 259-260) คำที่เรียกชื่อวารสารมีหลายคำ เช่น ข่าว จดหมายข่าว จดหมายเหตุ จุลสาร แถลงการณ์ แถลงข่าว นิตยสาร วารสาร สาส์น หนังสือพิมพ์ อนุสาร เป็นต้น การแบ่งประเภทของวารสาร มีการแบ่งได้หลายแบบ เช่น แบ่งตามผู้ผลิต หรือผู้จัดทำ เช่น วารสารที่จัดทำโดยหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ สมาคม องค์การ บริษัท ตลอดจนเอกชนที่จัดทำเพื่อการค้า แต่ถ้าจัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ เนื้อหา และผู้จัดทำ
3. หนังสือพิมพ์ (Newspapers) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีความหมายถึงสิ่งพิมพ์ ข่าว และความเห็นที่เสนอแก่ประชาชน ตามปกติออกเป็นรายวัน (ราชบัณฑิตยสถาน ก, 2530, หน้า 847) หนังสือพิมพ์นับเป็นสื่อสารนิเทศที่มีความสม่ำเสมอ เนื้อหาสาระที่นำเสนอมีความรวด เร็วทันต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในสังคม หนังสือพิมพ์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสนอข่าวเรื่องราวที่น่าสนใจทั่วไปอย่างกว้าง ขวาง รูปเล่มมีลักษณะเป็นกระดาษขนาดใหญ่ จำนวนหลายแผ่นพับได้ไม่เย็บเป็นเล่ม ส่วนใหญ่จะออกเป็นรายวัน หนังสือพิมพ์เป็นสิ่งพิมพ์ที่พิมพ์ขึ้นเพื่อคนทุกระดับความรู้ ไม่จำกัดผู้ อ่าน สามารถอ่านจบได้ในเวลาอันสั้นและอ่านได้ทุกเวลา และทุกสถานที่จึงเป็นสิ่งพิมพ์ ที่ได้รับความนิยมแพร่หลายจากผู้อ่าน มากกว่าสิ่งพิมพ์ประเภทอื่น ๆ
ลักษณะข่าวที่ดีในหนังสือพิมพ์
1. เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือกระทบกระเทือนต่อคนส่วนมากหรือจำนวนมาก เช่น ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการเมือง เป็นต้น
2. เป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ทั่วไปสนใจอยากทราบหรือควรทราบ ข่าวนั้น อาจจะมีหรือไม่มีผลกระทบโดยตรง ต่อประชาชนส่วนใหญ่ก็ได้ มักเป็นข่าวเชิงความรู้ในวิทยาการต่าง ๆ เช่น ข่าวการเดินทางของยานอวกาศโคลัมเบีย เป็นต้น
3. เป็นเรื่องที่มีความเป็นจริงมากกว่าความเท็จ ได้แก่ การที่หนังสือพิมพ์ เสนอข่าวแบบตรงไปตรงมา มีความเป็นจริงตามข่าวที่ปรากฏขึ้น ไม่มีการเสริมแต่งข่าวให้เข้าใจผิดแต่ประการใด
หนังสือพิมพ์ที่มีการจำหน่ายโดยทั่วไป มักนิยมจัดพิมพ์เป็น 2 ขนาด คือ
1.หนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ เป็นการจัดพิมพ์ด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ ซึ่งมีขนาดความกว้าง 14 นิ้ว และยาว 23 นิ้ว ส่วนจำนวนหน้าขึ้นอยู่กันนโยบายในการผลิตของแต่ละสำนักพิมพ์ ปกติหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ในประเทศไทย มีประมาณ 16-24 หน้า เช่น หนังสือพิมพ์สยามรัฐ มติชน ไทยรัฐ เดลินิวส์ บ้านเมือง ข่าวสด เป็นต้น บางฉบับมี จำนวนหน้าหนาเป็นพิเศษ และเป็นหนังสือพิมพ์เฉพาะเรื่อง เช่น ประชาชาติธุรกิจ มีจำ นวนหน้ามากกว่า 60 หน้า เป็นต้น
2 หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก เป็นการจัดพิมพ์เข้ารูปเล่มในลักษณะพับครึ่ง ของกระดาษหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ (Tabloid) คือมีขนาดกว้างประมาณ 11 1/2 นิ้ว 2 ยาว 14 1/4 นิ้ว มีจำนวนหน้าประมาณ 8-16 หน้า เช่น หนังพิมพ์ Student Weekly หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น ฉบับตอนบ่าย เป็นต้น
4. จุลสาร (Pamphletts) คือสิ่งพิมพ์ขนาดเล็ก มีความหนาอย่างน้อย 5 หน้า แต่ไม่เกิน 48 หน้า รูปเล่มไม่แข็งแรง ปกอ่อน อาจเป็นกระดาษแผ่นเดียวพับไปมาหรือ เป็นเล่มบาง ๆ เนื้อหากล่าวถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียวและจบบริบูรณ์ภายในเล่ม ความยาวไม่มากนัก เขียนอย่างง่าย ๆ ส่วนมากแล้ว เนื้อหาจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจในช่วง ระยะเวลาหนึ่ง โดยจะให้ข้อมูลที่ทันสมัย รายละเอียดในเรื่องอาจยังไม่มีการจัดพิมพ์เป็น เล่มหนังสือ จุลสารมักจัดทำโดยหน่วยราชการ องค์การ สถาบันต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่เรื่อง ราวที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของหน่วยงานนั้น ๆ จุลสารนับเป็นสื่อสารนิเทศที่ได้จากการประชาสัมพันธ์จากหน่วยงานต่าง ๆ เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้ประโยชน์ในการแนะนำ เผยแพร่ หรือสรุปรายงานของหน่วยงาน เป็นสารนิเทศที่ให้ข้อมูลทันสมัย เพราะมักมีการจัดพิมพ์ใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มเติมข้อมูลเดิม หรือจัดพิมพ์ใหม่ จึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการจัดเก็บและให้บริการ ในศูนย์สารนิเทศตลอดจนห้องสมุดโดยทั่วไป
5. กฤตภาค (Clippings) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่จัดทำขึ้นใช้เองในห้องสมุดและ ศูนย์สารนิเทศต่าง ๆ จัดทำขึ้นจากการตัดข้อความข่าว หรือภาพจากหนังสือพิมพ์ วารสาร หรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ มาติดแปะไว้กับกระดาษเพื่อการใช้ประโยชน์ต่อไป ข้อความที่ตัดจากสื่อสิ่ง พิมพ์ต่าง ๆ อาจจะเป็นข่าว บทความ หรือสารคดี เป็นสาระความรู้ หรือเรื่องราวใหม่ ๆ การจัดทำกฤตภาคจึงแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ
5.1 กฤตภาคข่าว (News Clippings) เป็นกฤตภาคที่รวบรวมจาก หนังสือพิมพ์และวารสารโดยทั่ว ๆ ไป เน้นประโยชน์ในการรวบรวมข้อมูลเฉพาะเรื่องต่าง ๆ
5.2 กฤตภาคภาพ (Picture Clippings) เป็นกฤตภาคที่ตัดจาก ภาพเป็นส่วนใหญ่ ทั้งกฤตภาคข่าว และกฤตภาคภาพ จะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ให้ข้อมูลทันสมัย บรรณารักษ์ตลอดจนนักสารนิเทศจัดทำขึ้นใช้เอง เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องการขาดแคลนข้อ มูลจากหนังสือ แและเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับการจัดซื้อหนังสือ ห้องสมุดโรงเรียน และห้องสมุดประชาชน มักนิยมจัดทำขึ้นใช้เอง ส่วนห้องสมุดขนาดใหญ่มักนิยมจัดทำเฉพาะเรื่องที่น่าสนใจ เพราะได้จัดทำดรรชนีหนังสือพิมพ์ และดรรชนีวารสารเพื่อค้นข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ และวารสารอยู่แล้ว